chiller

chiller
เครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำเย็นหรือปรับอุณหภูมิน้ำให้เย็น

dream chiller

ผลิต Chiller ตามความต้องการและงบประมาณลูกค้า

ปัญหาการล้างตะกรัน กับ คอนเดนเซอร์





                                               โดยทั่วไป ระบบทำความเย็นจะมีลักษณะการทำงานดังรูปที่1



              ซึ่งสาเหตุของการเกิดตะกรัน จับที่ผิวด้านในของท่อคอนเดนเซอร์เกิดจากการที่น้ำ


ภายในท่อคอนเดนเซอร์ ระบายความร้อนให้กับสารทำความเย็นทางด้าน Discharge จนทำให้น้ำมี


อุณหภูมิสูงขึ้นเกิดเป็นตะกรันบริเวณผิวท่อ และเมื่อตะกรันสะสมจนมีปริมาณมากก็จะทำให้


ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนลดลง จนต้องมีการหยุดระบบทำความเย็นเพื่อทำความสะอาด


คอนเดนเซอร์  แต่ถ้าหากไม่สะดวกที่จะหยุดระบบทำความเย็นเพื่อล้างคอนเดนเซอร์ ก็สามารถติดตั้ง


อุปกรณ์ Desuperheater เพิ่มเข้าไปในระบบทำความเย็น



ซึ่ง Desuperheater จะทำหน้าที่ระบายความร้อนให้แก่สารทำความเย็นเฉพาะในช่วงที่มีสถานะเป็น Superheat

ให้กลายเป็นสถานะ Saturated ก่อนที่สารทำความเย็น จะถูกส่งไปยังคอนเดนเซอร์ เพื่อ ควบแน่นกลายเป็นสถานะ

ของเหลว โดยสารทำความเย็นที่เข้าสู่ Desuperheater ซึ่งมีสถานะเป็น Superheat จะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง 

ส่งผลให้ตะกรันส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณ Desuperheater  และเมื่อสารทำความเย็น ซึ่งมีสถานะเป็น Saturated 

เข้าสู่คอนเด็นเซอร์ ก็จะส่งผลให้เกิดตะกรันที่คอนเดนเซอร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ส่วนการทำความสะอาด Desuperheater สามารถทำได้โดยการสกัดวาล์วเพื่อทำ By-Pass ให้สารทำความเย็น

ทางด้าน Discharge ตรงเข้าสู่คอนเดนเซอร์เป็นการชั่วคราว ซึ่ง Desuperheater 


ที่มีขนาดเล็กกว่าคอนเดนเซอร์ ทำให้ใช้เวลาในการทำความสะอาดน้อยกว่าด้วยเพียงเท่านี้เราก็ไม่จำเป็นต้อง


หยุดระบบทำความเย็นเพื่อทำความสะอาดคอนเดนเซอร์บ่อยๆ  อีกต่อไป

หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ


หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ-เครื่องทำความเย็น


ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า การปรับอากาศ ความหมายคือ ปรับให้อากาศเย็นหรือร้อนก็ได้ ถ้าพูดถึงปรับอากาศให้เย็น เราจะนึกถึงคำว่าแอร์นั่นเอง ในที่นี้เราจะพูดคุยกันอย่างง่ายๆ ถามว่าแอร์เกี่ยวกับความร้อนหรือไม่ เกี่ยวแน่นอน เพราะแอร์เป็นตัวนำความร้อนจากภายในห้อง ออกไปทิ้งข้างนอก ทิ้งอย่างไรมันมีขบวนการของมันโดยใช้เครื่องมือ 4 ตัว คือ

1. EVAPPORATOR
2. COMPRESSOR
3. CONDENSER
4. CAPILLARY TUBE

EVAPPORATOR
คือเครื่องระเหย หรือที่ช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยเย็น การทำงานของมันคือ ดูดความร้อนจากภายในห้อง โดยมีมอเตอร์พัดลมเป็นตัวดูดเข้ามา ผ่านช่องที่เรียกว่า RetumAir ซึ่งมี Filter เป็นตัวกรองฝุ่นให้ก่อน แล้วความร้อนที่ถูกดูดเข้ามานั้น จะมาสัมผัสกับคอล์ยเย็นซึ่งมีนำยาแอร์(ของเหลว) ซึ่งอุณหภูมิติดลบ วิ่งอยู่ในท่อนั้น จะเกิดการระเหยเป็นไอ(แรงดันต่ำ)

COMPRESSOR
คือเครื่องอัดไอ การทำงานหรือหน้าที่ของมันคือ ดูดไอ(แรงดันตำ) ซึ่งเกิดจากการระเหยภายในคอล์ยเย็น ทำการอัดให้เป็นไอ(แรงดันสูง) อุณหภูมิสูง เพื่อส่งไประบายความร้อนต่อไป

CONDENSER
คือเครื่องควบแน่น หรือช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยร้อน หน้าที่ของมันคือรับไอร้อนที่ถูก COMPRESSOR อัดจนร้อนและมีอุณหภูมิสูง เข้ามาในแผงพื้นที่ของมัน จากไอที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อมาเจอกับอากาศภายในห้อง ซึ่งมีอุณหภูมิตำกว่า ความร้อนจึงถูกถ่ายเทออกไปได้โดยไอร้อนนั้น จะควบแน่นกลายเป็นของเหลว(แรงดันสูง-อุณหภูมิสูง)แต่มีมอเตอร์พัดลมเป็นตัวช่วยระบายความร้อนออกไปให้เร็วขึ้น เมื่อเป็นของเหลวแล้วก็สามารถกลับมารับความร้อนภายในห้องได้อีก แต่ของเหลวนั้นยังมีอุณหภูมิสูงอยู่ จึงต้องทำให้อุณหภูมินั้นลดลงก่อน

CAPILLARY TUBE
คือท่อลดแรงดันหรือท่อรูเข็ม ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเล็กมาก ช่างแอร์จะเรียกว่า แค๊ปทิ้ว หน้าที่ของมันคือลดแรงดันของน้ำยาแอร์(ของเหลว)จากที่ถูกระบายความร้อนแล้ว ยังมีอุณหภูมิสูง-แรงดันสูง เมื่อมาเจอท่อรูเข็ม ทำให้ของเหลวอั้น ผ่านได้น้อย ทำให้ของเหลวนั้น มีอุณหภูมิลดลง และแรงดันลดลง น้ำยาแอร์(ของเหลว)และไหลพอดีเหมาะสมกับพื้นที่ของคอล์ยเย็น เพื่อที่จะมารับความร้อน ในห้องได้อีกครั้ง

การออกแบบและติดตั้ง Cooling Tower


การออกแบบและติดตั้ง Cooling Tower


 - ไม่ควรติดตั้งใกล้กับอาคารหรือที่ทำงาน เนื่องจาก Cooling Tower ค่อนข้างเสียงดัง
 - ออกแบบแผงขยายฟิล์มน้ำ และระบบกระจายน้ำให้เหมาะสม
 - เลือกขนาดของพัดลมควบคุมการไหลของอากาศให้เหมาะสม
 - ออกแบบเพื่อลดการสูญเสียของละอองน้ำ
 - นำค่าอุณหภูมิกระเปาะเปียกของอากาศ อุณหภูมิน้ำร้อนที่ทางเข้า อุณหภูมิน้ำเย็นที่ทางออก 
   มาพิจารณาให้สัมพันธ์กับอัตราการไหลของน้ำที่ต้องการทำความเย็น

การทำงานของ Cooling Tower


ความสามารถในการทำงานของ Cooling Tower ได้แก่
 - ความเร็วของอากาศที่ไหลผ่าน Cooling Tower
 - ความแตกต่างอุณหภูมิของน้ำและอากาศ
 - ทิศทางการไหลของน้ำ และอากาศ
 - ขนาดพื้นที่ของแผงขยายฟิล์มน้ำ และระยะเวลาในการสัมผัสกับอากาศ

ประเภทของ Cooling Tower
 - Closed-Loop Evaporative Type
 - Closed-Loop Chilled-Water (CW) Cooling System
 - Open Evaporative Cooling System (OE)
 - Closed-Loop Engineered (PCX) Cooling System


Cooling Tower

ทรงสี่เหลี่ยม ทำด้วยไฟเบอร์กล๊าสหรือกระเบื้องหรือโลหะมีการออกแบบเป็น Cross Flow แบบนี้จะมีราคาแพงกว่า แต่ประสิทธิภาพสูงใช้พื้นที่น้อยกว่า และใช้น้ำน้อยกว่าถึงประมาณ 30%
แบบที่มีรูปเป็นถังวงกลม ทำด้วยไฟเบอร์กล๊าส มีการออกแบบเป็น Counter Flow แบบนี้จะมีราคาถูก
แต่
ประสิทธิภาพต่ำและใช้น้ำมาก

        Cooling Tower คือหอระบายความร้อนของน้ำ ทำหน้าที่ในระบายความร้อนให้กับ Condenser 
และเครื่องจักรต่าง ๆโดยนำน้ำที่ร้อน จาก Condenser หรือเครื่องจักร มาฉีดให้เป็นฝอยแล้วปล่อยลงมาก
จากด้านบน ขณะที่น้ำไหลลงมาอุณหภูมิของน้ำจะลดลง และไหลลงสู่ด้านล่าง โดยต้องมีการเติมสารเคมีเพื่อป้องกันการเกิดตะกอน ตะไคร่และเชื้อแบคทีเรีย
โครงสร้างของหอระบายความร้อน(Cooling Tower) มีหลายรูปแบบ แต่ที่เห็นและเป็นที่นิยมมีอยู่ 
2 รูปแบบ คือ

1.ทรงสี่เหลี่ยม ทำด้วยไฟเบอร์กล๊าสหรือกระเบื้องหรือโลหะมีการออกแบบเป็น Cross Flow แบบนี้
   จะมีราคาแพงกว่า แต่ประสิทธิภาพสูงใช้พื้นที่น้อยกว่า และใช้น้ำน้อยกว่าถึงประมาณ 30%
2.แบบที่มีรูปเป็นถังวงกลม ทำด้วยไฟเบอร์กล๊าส มีการออกแบบเป็น Counter Flow แบบนี้จะมีราคาถูก
   แต่ประสิทธิภาพต่ำและใช้น้ำมาก

chiller system



ชนิดของคอมเพรสเซอร์

คอมเพรสเซอร์มีอยู่ 6 ชนิด คอมเพรสเซอร์ที่ใช้กันอยู่ในงานเครื่องทำความเย็น  มีความแตกต่างกันอยู่หลายชนิด
1.แบบลูกสูบ ( Reciprocating )
2.แบบโรตารี ( Rotary )
3.แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ ( Centrifugal )
4.แบบเกียร์ ( Gear )
5.แบบไดอะแฟรม ( Diaphragm )
6.แบบสวอชเพลต ( Swash  Plare )

คอมเพรสเซอร์ที่นิยมใช้ในงานเครื่องทำความเย็นมีอยู่  3  แบบ  
 - คอมเพรสเซอร์คือแบบลูกสูบ
 - คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี 
 - คอมเพรสเซอร์แบบเหวี่ยงหนีศูนย์

คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบเป็นที่นิยมใช้กันมากสุด คือ ใช้กับเครื่องทำความเย็นตั้งแต่ขนาดเล็ก ๆ
ประมาร 1/20 แรงม้าขึ้นไปจนถึงเครื่องทำความเย็นในระบบใหญ่ ๆ ขนาด 50-60  ตัน  

คอมเพรสเซอร์แบบโรตารีมีขีดจำกัดในการใช้งาน คือ ใช้ได้ดีกับระบบที่มีกำลังม้าน้อย เครื่อง
ปรับอากาศที่มีขนาดไม่เกิน 1-2 ตัน  แต่ถ้าระบบใหญ่กว่านี้  คอมเพรสเซอร์แบบโรตารีจะใช้งานไม่ดี

คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ใช้ได้เฉพาะกับเครื่องทำความเย็นระบบใหญ่ ๆ ตั้งแต่ 50-60
ตันขึ้นไป 

ปัจจุบันในประเทศไทย  เครื่องทำความเย็นระบบใหญ่ ๆ เช่นนี้กำลังขยายการใช้งานขึ้้นอย่างกว้างขวาง
เพราะศูนย์การค้าและตึกอาคารขนาดใหญ่ ๆ ที่สร้างขึ้นมาใหม่มักออกแบบมาเพื่อให้มีการใช้เครื่องปรับอากาศทั้งนั้น

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
Email : sale@dreamchiller.com
www.dreamchiller.com
T.086-379-4423