โดยทั่วไป
ระบบทำความเย็นจะมีลักษณะการทำงานดังรูปที่1
ซึ่งสาเหตุของการเกิดตะกรัน จับที่ผิวด้านในของท่อคอนเดนเซอร์เกิดจากการที่น้ำ
ภายในท่อคอนเดนเซอร์ ระบายความร้อนให้กับสารทำความเย็นทางด้าน Discharge จนทำให้น้ำมี
อุณหภูมิสูงขึ้นเกิดเป็นตะกรันบริเวณผิวท่อ และเมื่อตะกรันสะสมจนมีปริมาณมากก็จะทำให้
ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนลดลง จนต้องมีการหยุดระบบทำความเย็นเพื่อทำความสะอาด
คอนเดนเซอร์ แต่ถ้าหากไม่สะดวกที่จะหยุดระบบทำความเย็นเพื่อล้างคอนเดนเซอร์ ก็สามารถติดตั้ง
อุปกรณ์ Desuperheater เพิ่มเข้าไปในระบบทำความเย็น
ซึ่ง Desuperheater จะทำหน้าที่ระบายความร้อนให้แก่สารทำความเย็นเฉพาะในช่วงที่มีสถานะเป็น Superheat
ให้กลายเป็นสถานะ Saturated ก่อนที่สารทำความเย็น
จะถูกส่งไปยังคอนเดนเซอร์ เพื่อ ควบแน่นกลายเป็นสถานะ
ของเหลว
โดยสารทำความเย็นที่เข้าสู่ Desuperheater ซึ่งมีสถานะเป็น Superheat จะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง
ส่งผลให้ตะกรันส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณ Desuperheater และเมื่อสารทำความเย็น
ซึ่งมีสถานะเป็น Saturated
เข้าสู่คอนเด็นเซอร์
ก็จะส่งผลให้เกิดตะกรันที่คอนเดนเซอร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ส่วนการทำความสะอาด Desuperheater สามารถทำได้โดยการสกัดวาล์วเพื่อทำ By-Pass ให้สารทำความเย็น
ทางด้าน Discharge ตรงเข้าสู่คอนเดนเซอร์เป็นการชั่วคราว ซึ่ง Desuperheater
ที่มีขนาดเล็กกว่าคอนเดนเซอร์ ทำให้ใช้เวลาในการทำความสะอาดน้อยกว่าด้วยเพียงเท่านี้เราก็ไม่จำเป็นต้อง
หยุดระบบทำความเย็นเพื่อทำความสะอาดคอนเดนเซอร์บ่อยๆ อีกต่อไป
ทางด้าน Discharge ตรงเข้าสู่คอนเดนเซอร์เป็นการชั่วคราว ซึ่ง Desuperheater
ที่มีขนาดเล็กกว่าคอนเดนเซอร์ ทำให้ใช้เวลาในการทำความสะอาดน้อยกว่าด้วยเพียงเท่านี้เราก็ไม่จำเป็นต้อง
หยุดระบบทำความเย็นเพื่อทำความสะอาดคอนเดนเซอร์บ่อยๆ อีกต่อไป